เทศกาลตรุษจีน
ตรุษจีนในมาเลเซียก็เช่นเดียวกับตรุษจีนประเทศต่างๆเป็นเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน มีการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนประดับประดาสิ่งสวยงาม มีการเชิดสิงโต ตามศาลเจ้าของจีนจะมีผู้คนไปกราบไหว้ขอพรจากเทพเจ้าอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะในกรุงกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ จะคึกตักเป็นพิเศษเพราะมีชาวจีนประกอบธุรกิจการค้าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
มาเลเซียเป็นเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีชาวฮินดูอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก ชาวฮินดูมีประเพณีสำคัญคือ ไทปูซัม เป็นวันที่ชาวฮินดูพากันมาประกอบพิธีกรรมสำนึกบาปที่ตนเองได้ทำไว้ไปในช่วงเวลาที่ผ่าน มีการลงโทษทำร้ายตนเอง โดยใช้ของแหลม ของมีคมทิ่มแทงตนเอง ประเพณีจะจัดขึ้นที่ถ้ำบาตูในกรุงกัวลาลัมเปอร์และปีนัง
เทศกาลว่าวนานาชาติ
เป็นการแข่งขันว่าวนานาชาติ ซึ่งว่าวแต่ละตัวมีสีสันและรูปแบบสวยงามแปลกตา มีหลากหลายตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่มหึมา สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้พบเห็น งานนี้จัดขึ้นที่หาดตุมปัดในเมืองกลันตัน
เทศกาลซาบาห์
เป็นการรวมตัวของคนกว่า 30 ชนเผ่า มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีเพื่อให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษงานนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในซาบาห์
เทศกาลกาไว
เป็นการเฉลิมฉลองหลังการเกี่ยวข้าวของชาวนา เป็นงานรื่นเริง เลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มอย่างสนุกสนาน
วันชาติ
ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่มาเลเซียได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ชาวมาเลเซียจึงมีการเฉลิมฉลองอย่างครึกครื้น มีการตั้งริ้วขบวนแห่ไปตามถนนสายสำคัญในกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของมาเลเซีย
เทศกาลขนมไหว้พระจันทร์และเทศกาลโคม
เป็นงานเทศกาลเฉลิมฉลองในชัยชนะของชาวจีนโบราณที่มีต่ออาณาจักรมองโกล (คริสต์ศตวรรษที่ 14 ) ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ตั้งอยู่กลางทะเลทราบโกบี หรือประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน มีการขยายอำนาจกว้างไกลที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยเฉพาะในช่วง ค.ศ.1206 ภายใต้การนำของเจงกิจข่าน แผ่อำนาจครอบคลุมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงยุโรปตะวันออก
ชาวจีนในมาเลเซียมีการทำขนมไหว้พระจันทร์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในงานนี้ยังมีกระบวนการแห่โคมอย่างสวยงามอีกด้วย
ประเพณีดีปาวาลี
เป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู และบูชานางลักษมีเทวี ซึ่งเป็นพระชายาของพระนารายณ์ และเป็นเทพธิดาแห่งความร่ำรวยและความมั่งคั่ง ในช่วงวันเวลาดังกล่าวตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวงราวกลางเดือนตุลาคม ชาวฮินดูจึงมีการบูชาดวงจันทร์ เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของพระนางลักษมีเทวี
ประวัติตำนานของประเพณีนี้กล่าวว่า วันที่พระรามซึ่งเป็นร่างอวตารของพระรามไปรบกับอสูรแล้วยกทัพกลับเข้าเมืองอโยธยา ตรงกับวันดีปาวาลีการจุดเทียนสว่างไสวจึงเป็นการฉลองชัยชนของศึกครั้งนั้นด้วย ประเพณีปาวาลีจึงเป็นการเฉลิมฉลองที่ธรรมะ (หมายถึงพระราม) ชนะอธรรม (หมายถึงอสูร) บางบ้านมีการจุดเทียนและประทีปจากหน้าบ้านนำไปยังหิ้งบูชาพระนางลักษมีเทวีในบ้านเรือนด้วย ค่ำคืนนั้นแสงเทียนแสงประทีปจะวับวามสวยงาม นอกจากนี้บางบ้านยังทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน รวมถึงตู้เซฟที่เก็บทรัพย์สินเงินทอง
เทศกาลฮารีรายา
วันฮารีรายาถือเป็นวันสำคัญในรอบปีของผู้นับถือศาสนาอิสลาม วันสำคัญนี้กำหนดขึ้นจากการเฝ้าสังเกตดูดวงจันทร์บนท้องฟ้าของชาวมุสลิมในวันหยุดท้ายของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนทางรัฐบาลจะประกาศให้ชาวมุสลิมรับรู้อย่างเป็นทางการ และมาเลเซียให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน
ในวันฮารีรายา ชาวมุสลิมจะพากันไปละหมาดที่มัสยิด หลังจากนั้นจะเดินทางไปยังกุโบร์ เพื่อสวดมนต์ขอพรให้กับญาติพี่น้องบรรพบุรุษผู้วายชนม์ หลังจากนั้นก็จะออกซากาดหรือทำทานแก่ผู้ยากไร้ โดยเฉพาะเด็กกำพร้า หลังจากนั้นก็จะออกเดินทางท่องเที่ยวไปเยี่ยมบ้านญาติมิตรที่เคารพนับถือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น