วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

การนับเลขประเทศมาเลเซีย


การนับเลข


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การนับเลขประเทศมาเลเซีย





                       หนึ่ง      ซาตู (satu)
สองดัว (dua)
สามทิก้า (tiga)
สี่เอ็มแพท (empat)
ห้าลิม่า (lima)
หกอีนาม (enam)
เจ็ดทูจู (tujuh)
แปดลาพัน (lapan)
เก้าเซ็มบิลัน (sembilan)
สิบเซปูลู (sepuluh)             





คำบอกรัก ประเทศมาเลเซีย

คำบอกรัก 







มาเลเซีย เรียกว่า ซายาจินตามู (Saya cinta mu)

คำทักทาย ประเทศมาเลเซีย

คำทักทาย 






สวัสดีซาลามัด ดาตัง
ขอบคุณเตริมา กะชิ
สบายดีไหมอาปา กาบา
ยินดีที่ได้รู้จักเจมบิรา ดาปัด เบอเตมู อันดา
 (gembira dapat bertemu anda)
พบกันใหม่เบอจัมปา ลากิ (berjumpa lagi)
ลาก่อนเซลามัต ติงกัล
นอนหลับฝันดีมิมปิ๊ มานิส
 (mimpi manis)
เชิญเม็นเจ็มพุด (menjemput)
ใช่ยา (ya)
ไม่ใช่ทีแด๊ก (tidak)
อากาศดีจังบาอิค คอค่า (baik cauca)
อากาศร้อนมากซังกัด พานัส
อากาศหนาวมากคอค่า ยัง ซังกัด เซจุ๊ค
 (cauca yang sangat sejuk)
ไม่เป็นไรทีแด๊ก อปาอาปา (tidak apa-apa)
  
 * มาเลเซีย และ บรูไน ใช้ภาษาเดียวกัน

เทศกาล งานประเพณี ประเทศมาเลเซีย

เทศกาล งานประเพณี





เทศกาลตรุษจีน

ตรุษจีนในมาเลเซียก็เช่นเดียวกับตรุษจีนประเทศต่างๆเป็นเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน มีการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนประดับประดาสิ่งสวยงาม มีการเชิดสิงโต ตามศาลเจ้าของจีนจะมีผู้คนไปกราบไหว้ขอพรจากเทพเจ้าอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะในกรุงกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ จะคึกตักเป็นพิเศษเพราะมีชาวจีนประกอบธุรกิจการค้าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

มาเลเซียเป็นเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีชาวฮินดูอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก ชาวฮินดูมีประเพณีสำคัญคือ ไทปูซัม เป็นวันที่ชาวฮินดูพากันมาประกอบพิธีกรรมสำนึกบาปที่ตนเองได้ทำไว้ไปในช่วงเวลาที่ผ่าน มีการลงโทษทำร้ายตนเอง โดยใช้ของแหลม ของมีคมทิ่มแทงตนเอง ประเพณีจะจัดขึ้นที่ถ้ำบาตูในกรุงกัวลาลัมเปอร์และปีนัง

เทศกาลว่าวนานาชาติ

เป็นการแข่งขันว่าวนานาชาติ ซึ่งว่าวแต่ละตัวมีสีสันและรูปแบบสวยงามแปลกตา มีหลากหลายตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่มหึมา สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้พบเห็น งานนี้จัดขึ้นที่หาดตุมปัดในเมืองกลันตัน

เทศกาลซาบาห์

เป็นการรวมตัวของคนกว่า 30 ชนเผ่า มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีเพื่อให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษงานนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในซาบาห์

เทศกาลกาไว

เป็นการเฉลิมฉลองหลังการเกี่ยวข้าวของชาวนา เป็นงานรื่นเริง เลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มอย่างสนุกสนาน

วันชาติ

ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่มาเลเซียได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ชาวมาเลเซียจึงมีการเฉลิมฉลองอย่างครึกครื้น มีการตั้งริ้วขบวนแห่ไปตามถนนสายสำคัญในกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของมาเลเซีย

เทศกาลขนมไหว้พระจันทร์และเทศกาลโคม

เป็นงานเทศกาลเฉลิมฉลองในชัยชนะของชาวจีนโบราณที่มีต่ออาณาจักรมองโกล (คริสต์ศตวรรษที่ 14 ) ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ตั้งอยู่กลางทะเลทราบโกบี หรือประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน มีการขยายอำนาจกว้างไกลที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยเฉพาะในช่วง ค.ศ.1206 ภายใต้การนำของเจงกิจข่าน แผ่อำนาจครอบคลุมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงยุโรปตะวันออก

ชาวจีนในมาเลเซียมีการทำขนมไหว้พระจันทร์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในงานนี้ยังมีกระบวนการแห่โคมอย่างสวยงามอีกด้วย

ประเพณีดีปาวาลี

เป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู และบูชานางลักษมีเทวี ซึ่งเป็นพระชายาของพระนารายณ์ และเป็นเทพธิดาแห่งความร่ำรวยและความมั่งคั่ง ในช่วงวันเวลาดังกล่าวตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวงราวกลางเดือนตุลาคม ชาวฮินดูจึงมีการบูชาดวงจันทร์ เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของพระนางลักษมีเทวี

ประวัติตำนานของประเพณีนี้กล่าวว่า วันที่พระรามซึ่งเป็นร่างอวตารของพระรามไปรบกับอสูรแล้วยกทัพกลับเข้าเมืองอโยธยา ตรงกับวันดีปาวาลีการจุดเทียนสว่างไสวจึงเป็นการฉลองชัยชนของศึกครั้งนั้นด้วย ประเพณีปาวาลีจึงเป็นการเฉลิมฉลองที่ธรรมะ (หมายถึงพระราม) ชนะอธรรม (หมายถึงอสูร) บางบ้านมีการจุดเทียนและประทีปจากหน้าบ้านนำไปยังหิ้งบูชาพระนางลักษมีเทวีในบ้านเรือนด้วย ค่ำคืนนั้นแสงเทียนแสงประทีปจะวับวามสวยงาม นอกจากนี้บางบ้านยังทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน รวมถึงตู้เซฟที่เก็บทรัพย์สินเงินทอง

 เทศกาลฮารีรายา

วันฮารีรายาถือเป็นวันสำคัญในรอบปีของผู้นับถือศาสนาอิสลาม วันสำคัญนี้กำหนดขึ้นจากการเฝ้าสังเกตดูดวงจันทร์บนท้องฟ้าของชาวมุสลิมในวันหยุดท้ายของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนทางรัฐบาลจะประกาศให้ชาวมุสลิมรับรู้อย่างเป็นทางการ และมาเลเซียให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน

ในวันฮารีรายา ชาวมุสลิมจะพากันไปละหมาดที่มัสยิด หลังจากนั้นจะเดินทางไปยังกุโบร์ เพื่อสวดมนต์ขอพรให้กับญาติพี่น้องบรรพบุรุษผู้วายชนม์ หลังจากนั้นก็จะออกซากาดหรือทำทานแก่ผู้ยากไร้ โดยเฉพาะเด็กกำพร้า หลังจากนั้นก็จะออกเดินทางท่องเที่ยวไปเยี่ยมบ้านญาติมิตรที่เคารพนับถือ

แหล่งท่องเที่ยว ประเทศมาเลเซีย

แหล่งท่องเที่ยว


กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


ไม่ต่ำกว่า 200 ปีก่อน กัวลาลัมเปอร์เคยเป็นแค่เมืองขุดเหมืองของมาเลเซียเท่านั้น มันเป็นเมืองที่เงียบเหงา ผิดกับปัจจุบันที่มีผู้คนพลุกพล่านเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทันสมัย ที่คนรักการสังสรรค์ต้องมาให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการช้อป ทานของอร่อย หรือชมวิวสูงบนตึกระฟ้า เชื่อเถอะว่าที่นี่ตอบโจทย์ของคุณได้หมดแน่นอน


ปีนัง (Penang)

 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย

 เกาะปีนังบริเวณช่องแคบมะละกา ทางตอนใต้ของชายฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือประเทศมาเลเซีย คือ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเมืองจอร์จทาวน์บนเกาะแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งก็ว่าได้ แถมจากการที่มันเป็นแหล่งขนส่งติดต่อกับชาวต่างชาติ ยังทำให้ปีนังเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกต่างหาก


กูชิง (Kuching)

 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบอร์เนียว เป็นที่พักที่ดีที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะอยู่ระยะยาว และเที่ยวชมมาเลเซียให้ทั่วสักหน่อย คุณสามารถแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ เช่น วัดโทวเปกกง วัดจีนที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด หรือ เดวาน อันดันกัน เนเกรี อาคารราชการที่มีรูปทรงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์


คาเมรอน ไฮแลนด์ (Cameron Highlands)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


หลบหนีจากความร้อนแล้วมาสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เย็นชื่นใจ ที่ คาเมรอน ไฮแลนด์ บนภูเขาติติวังซา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ของที่นี่ และมีบรรยากาศสวยตรึงตาตรึงใจสมกับที่ผู้คนชื่นชอบกันจริง ๆ โดยมีทั้งสวนดอกไม้, ไร่ชา และสวนผักผลไม้ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ตามใจชอบ นอกจากนี้ การแวะชมพิพิธภัณฑ์ ไทม์ ทันเนล เพื่อดูประวัติความเป็นมาของที่นี่ก็น่าจะช่วยให้ทริปของคุณพิเศษยิ่งขึ้น


มะละกา (Melaka)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย

ด้วยความที่มันมีบทบาทสำคัญในการเดินเรือระหว่างอินเดียและจีน ทำให้มันได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย จนมีสิ่งก่อสร้างจากศิลปะที่แตกต่างปะปนอยู่ด้วยกัน กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่งดงาม ทั้งวัดจีนเก่าแก่ เช็งฮุนเต็ง และสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของชาวดัตช์


โกตาบารู (Kota Bharu)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


 นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาที่นี่ไม่ขาดสายทุกปี ซึ่งโกตาบารูอยู่ใกล้เขตชายแดนบ้านเรานี่เอง และสถานที่พลาดไม่ได้ของที่นี่ ก็คือ พิพิธภัณฑ์ Museum of Royal Traditions and Ceremonies ที่แค่ไปเห็นปราสาทไม้รวมทั้งสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของราชวงศ์ก็คุ้มค่าแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นตลาดกลางขนาดใหญ่ของที่นี่ยังขึ้นชื่อ น่าซื้อของกินให้จุใจอีกด้วยนะ











ชุดแต่งกายประเทศมาเลเซีย

ชุดแต่งกาย

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของชาติมาเลเซีย  ซึ่งเคร่งครัดในระเบียบปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา  โดยเฉพาะการแต่งกายที่สุภาพมิดทั้งหญิงและชาย
ในอดีต  ผู้ชายชาวมาเลเซียมักนุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อ  หรือถ้าจะสวมใส่ก็เป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงขาสั้นแทนโสร่งแทน  ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอก  บางคนอาจมีผ้าบางๆไว้คลุมไหล่ องค์สุลต่านอาบูบาการ์แห่งรัฐยะโฮร์  ทรงเห็นว่าการแต่งกายของชาวมาเลเซียไม่เรียบร้อย  อีกทั้งไม่มีชุดประจำชาติที่ดูสุภาพพระองค์จึงทรงคิดให้ชุด  บาจู  กูหรง  (Baji  Kurung)ซึ่งเป็นภาษามลายู  แปลว่า  ปกปิดมิดชิด
ลักษณะเด่นของชุดบาจู  กูหรงไม่ว่าของผู้ชายหรือผู้หญิง  มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดียวกัน  เพราะฉะนั้นทั้งสีและลวดลายบนผืนผ้า จึงเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด  แต่ชุดของผู้ชายกลับมีเครื่องเครามากกว่าของผู้หญิงชุดผู้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด   ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผู้ชายเป็นแขนยาว  ทั้งแบบคอลมและคอจีน  ซึ่งมีรังดุมราว  2-5  เม็ด  ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก
ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้  ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน  หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น  จากสะดือถึงเข่า  ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า  ซัมปิน  (Sampin)  ซึ่งสีไมฉูดฉาด  แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม  ดิ้นทอง  ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย  ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย
ที่ศีรษะผู้ชายจะสวมหมวกแขกกำหยี่สีดำ  ภาษามลายูเรียกว่า  ซองโก๊ะ  (Songkok)  แต่ถ้าจะให้เต็มยศบางคนก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง
การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น  รูปนกอินทรีปีกหัก  รูปช้างรบ  รูปสู้ลม  ถือเป็นศิลปะที่ต้องใช้เวลาประดิดประดอย  จึงไม่เป็นที่นิยม  ในอดีตการสวมผ้าพับรูปมงกุฎนี้เป็นเครื่องบอกชนชั้นในสังคมมาเลเซีย  ส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงขององค์สุลต่านและราชวงศ์  ส่วนสามัญชนจะสวมใส่ผ้าพันมงกุฎนี้ในวันสำคัญเช่นในวันแต่งงาน  ซึ่งหมายถึงเจ้าบ่าวเป็นเจ้าชายในวันนั้น





สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวมาเลเซียคือ  กริช  ซึ่งเคยเป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา  แต่ปัจจุบันกริช  ใช้เป็นเครื่องประดับในชุดบาจู  กูหรง  โดยเหน็บข้างเอวให้เห็นเท่านั้น  การแต่งกายแบบนี้สำหรับชาวมาเลเซียถือว่าสุภาพมาก  มักแต่งไปในงานพิธีเช่นงานแต่งงาน
ที่กล่าวมานี้ค่อนข้างเป็นการแต่งกายที่เป็นทางการ  แต่ถ้าต้องการความสะดวกเรียบง่าย  เพื่อไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด     ก็เพียงโสร่ง  สวมเสื้อปล่อยชายยาวคลุมทับโสร่ง  สวมหมวกกำมะหยี่สีดำ

บางครั้งผู้ชายก็แต่งตัวอย่างสากล  ใส่เสื้อแขนยาวสีขาวหรือสีอ่อน  ดูสุภาพ    กับกางเกงสีเข้ม  และที่ขาดไม่ได้คือใส่หมวกกะปิเยาะห์
ชุดผู้หญิง  มีเครื่องแต่งกายน้อยชิ้นกว่าชาย  ทั้งเสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา  เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว  ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด    หรือสีที่เข้ากันดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง    นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผู้หญิงเป็นแบบแขนยาว  ชายเสื้อยาวลงมาถึงเข่า  บางคนนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป  แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ  ไม่เน้นรูปร่าง  ส่วนท่อนล่างเป็นกระโปรงยาวคลุมตาตุ่ม  ไม่ผ่าข้าง เมื่ออกนอกบ้าน  ผู้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศีรษะด้วยผ้าบางเบา  มีสีสันลวดลายดูกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง  ผ้านี้บางทีก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย  สตรีมุสลิมที่เคร่งครัดก็มักคลุมฮิญาบ   หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า  ตุดง (Tudung)  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น


















เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำ ประเทศมาเลเซีย

เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำ




               ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ตน ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้แรงงานภาคเอกชนเป็นครั้งแรก โดยแรงงานในคาบสมุทรมาเลเซียจะได้ 900 ริงกิตต่อเดือน หรือ 4.33 ริงกิตต่อชั่วโมง ส่วนแรงงานในรัฐซาราวัก รัฐซาบาฮ์ และลาบวน จะได้ 800 ริงกิต ต่อเดือน หรือ 3.85 ริงกิตต่อชั่วโมง โดยจะมีผลบังคับใช้ใน 6 เดือน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยกเว้นบริษัทที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ บริษัทที่มียอดขายประจำปีจำนวน 250,000 ริงกิต (สำหรับภาคอุตสาหกรรม) และจำนวน 200,000 ริงกิต (สำหรับภาคการเกษตรและบริการ) และมีจำนวนลูกจ้างประจำ 5 คน รัฐบาลฯ เลื่อนผลบังคับใช้เพิ่มเป็น 12 เดือน ซึ่งนับเป็นการเตรียมการเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2020 (พ.ศ. 2563)
                    นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่า รัฐบาลออกมาตรการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชนชั้นแรงงาน และช่วยให้มั่นใจว่าชนชั้นแรงงานจะสามารถปรับตัวเพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินกันว่า การประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นครั้งแรกของประเทศมาเลเซียในครั้งนี้ มีเหตุผลในทางการเมืองแอบแฝง เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียกำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในมาเลเซียในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลมาเลเซียก็ได้อนุมัติให้ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการประจำมาแล้ว ซึ่งมาตรการทั้งหมดได้รับการประเมินว่าเป็นการสร้างความพึงพอใจซึ่งจะมีผลต่อคะแนนนิยมของพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง 
                    นอกจากนี้ ยังได้มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของมาเลเซีย ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการประกาศดังกล่าวหลากหลายมุมมอง อาทิ เช่น เลขาธิการหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศมาเลเซียมีความเห็นว่าการกำหนดอัตราค่าแรง 900 ริงกิต ครอบคลุมทุกรัฐในคาบสมุทรมาเลเซีย จะทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติกลัวที่จะเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการที่อยู่ในเขตชนบท พร้อมทั้งเสนอว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำควรพิจารณาเป็นรายพื้นที่ ในขณะที่ประธานสหภาพแรงงานมาเลเซียแสดงความยินดีที่รัฐบาลมีมติใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำ หลังจากที่ได้เรียกร้องกันมานานกว่า 10 ปี พร้อมกันนี้ สหภาพฯ ประกาศว่าจะพยายามผลักดันให้มีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงครองชีพอีกจำนวน 300 ริงกิต เพิ่มเติมให้แรงงานภาคเอกชนด้วย เพราะเชื่อว่าเมื่อมีการปรับค่าจ้าง ย่อมส่งผลต่อการปรับอัตราค่าครองชีพให้สูงขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน ทางด้านผู้อำนวยการบริหารสหพันธ์นายจ้างมาเลเซีย แสดงความเห็นว่า รัฐบาลประกาศกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำเร็วเกินไป ควรให้นายจ้างมีการปรับตัวมากกว่านี้ และให้คำแนะนำว่า การปรับขึ้นอัตราค่าแรง ควรดำเนินควบคู่กับการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย
                    อย่างไรก็ตาม นักวิจัยของ CIMB ให้ความเห็นว่า แม้การกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการ แต่ก็จะส่งผลดีในระยะยาวต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ลดการพึ่งพาแรงงานไร้ฝีมือ และจะมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น
                    อนึ่ง การกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้กับตำแหน่งงานทุกตำแหน่งในภาคเอกชน รวมทั้งแรงงานต่างชาติ ยกเว้นตำแหน่งแม่บ้าน 

ประวัติศาสตร์ ประเทศมาเลเซีย

ประวัติศาสตร์ 





บริเวณที่เป็นประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เดิมเป็นอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งรุ่งเรืองในด้านการค้าทางทะเลเป็นอย่างมากในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-14 เนื่องจากอาศัยความได้เปรียบที่มีชายแดนเปิดออกสู่ทะเล ศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่ใดยังไม่ทราบแน่ชัด บ้างก็ว่าเมืองหลวงแห่งแรกคือ ปาเล็มบัง ซึ่งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา ต่อมาอาณาจักรนี้ยิ่งมีอำนาจมากขึ้น เนื่องจากมีการรวมรัฐกับชาววงศ์ไซเลนทร์แห่งชวากลางโดยการแต่งงาน และยังมีสัมพันธภาพทางการเมืองที่ดีกับจีน
อาณาจักรศรีวิชัยเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะติดต่อกันลำบาก ทำให้ถูกข้าศึกตีเอาพื้นที่ไปทีละเกาะได้ อีกทั้งการทำการค้าแบบผูกขาดและเก็บภาษีค่อนข้างสูง ทำให้ชาวต่างชาติไม่พอใจ ประกอบกับจีนเริ่มเปิดเส้นทางการค้าทางทะเล แล้วมาเดินเรือสำเภาซื้อขายสินค้าเสียเอง ทำให้อาณาจักรที่ต้องพึ่งพาการค้าเพียงอย่างเดียวอย่างอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ไม่ได้จนล่มสลายไปในที่สุด มีรัฐมัชปาหิตเข้ามาแทนที่ ได้อาศัยความเก่งกล้าของคชมาดา รัฐบุรุษคนสำคัญที่ได้แผ่อิทธิพลของมัชปาหิตไปถึงแหลมมลายู จนไปถึงหมู่เกาะทั้งหมดที่เป็นที่ตั้งของประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียปัจจุบันรวมกัน แต่ในที่สุดรัฐมัชปาหิตก็เสื่อมสลายหลังจากคชมาดาเสียชีวิต มะละกาซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ไกลออกไปตั้งตัวเป็นอิสระ และเข้ามามีความสำคัญแทนที่
มหาอำนาจยุโรปได้ขยายตัวเข้ามาในบริเวณนี้อย่างช้าๆ เริ่มจากโปรตุเกสเข้ามายึดครองมะละกา ต่อมาดัตช์เข้าครอบครองมะละกาแทน และอังกฤษก็เข้ามาที่ปีนังเมื่อ พ.ศ.2329 แล้วครอบครองมะละกาแทนดัตช์ในที่สุด ในขณะนั้นมีชาวจีนและอินเดียหลั่งไหลเข้ามาในดินแดนอาณานิคมอังกฤษเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ปีนังกับมะละกายังเป็นฐานให้แก่พ่อค้า นายเหมืองดีบุกและกรรมกร ซึ่งจะมาเป็นผู้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของคาบสมุทรมลายูอีกด้วย
สมัยอังกฤษปกครองนี้ อังกฤษได้แบ่งส่วนการปกครองมลายูออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. สเตรตส์เซ็ตเทิลเมนตส์ ประกอบด้วย สิงคโปร์ เกาะปีนัง พร้อมด้วยมณฑลเวลสลีย์ดินคิงส์ และมะละกา
2. สหพันธรัฐมลายู ประกอบด้วยรัฐเประ สลังงอ เนกรีเซมบีลัน และปะหัง
3. รัฐนอกสหพันธัฐมลายู ประกอบด้วย เคดาห์กลันตัน ตรังกานู ปะลิส ยะโฮร์ แต่ละส่วนปกครองมีวิธีการปกครองที่แตกต่างกันในรายละเอียด โดยรวมคือให้ชาวพื้นเมืองได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองบ้าง
หลังจากนั้นเริ่มมีการต่อต้านอังกฤษ โดยเกิดขบวนการชาตินิยมและคอมมิวนิสต์จีนขึ้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก โดยปี พ.ศ.2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบุกมลายู แล้วพยายามดำเนินการต่างๆ เพื่อสร้างวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา แต่ก็ถูกชาวพื้นเมือง ชาวจีน และชาวอังกฤษต่อต้านอย่างหนัก จนต้องยอมจำนนในที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษเห็นว่าจะต้องปกครองมลายูให้เข้มงวดกว่าเดิม แต่เมื่อดำเนินนโยบายกลับถูกคนชาวพื้นเมืองต่อต้านอย่างรุนแรง จนต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ โดยเน้นเอาใจชาวมาเลย์มากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากชาวพื้นเมืองมีความตื่นตัวทางการเมือง และหวังได้รับเอกราชอย่างแท้จริง จนในที่สุดมลายูก็ได้รับเอกราชในวันที่ 31 สิงหาคม 2500 ใช้ชื่อว่า สหพันธรัฐมลายู ต่อมาวันที่ 16 กันยายน 2506 เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย โดยรวมเอาสิงคโปร์ ซาบาห์ และซาราวัก บรูไนขอแยกไปอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตามเดิม ส่วนสิงคโปร์แยกตัวเองออกจากมาเลเซียวันที่ 9 สิงหาคม 2508 เนื่องจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ เศรษฐกิจ และการเมือง

สกุลเงินประเทศมาเลเซีย

สกุลเงิน




ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100  เซ็น ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามาเลย์ คำว่า ringgit ในภาษามาเลย์แปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิตและ เซ็น ในภาษามาเลย์ อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วงพ.ศ.2533

อาหารประเทศมาเลเซีย

อาหาร




นาซิ เลอมัก 





ยำตะไคร้ใบชะพลู




แกงหัวปลา





บะหมี่ฮกเกี้ยน




ผัดเต้าหู้รวมมิตร



  


วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

ตราสัญลักษณ์ประเทศมาเลเซีย

ตราสัญลักษณ์





         ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า
 ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก
ตราแผ่นดินของมาเลเซียประกอบด้วยโล่ที่ประคองด้วยเสือสองตัว ด้านบนมีจันทร์เสี้ยวสีเหลืองและดาวแห่งสหพันธ์สีเหลือง 14 แฉก และมีแพรแถบแสดงคำขวัญอยู่ล่างสุด
เครื่องยอดประกอบด้วยรูปจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉกซึ่งเรียกว่า "ดาราสหพันธ์" ("Bintang Persekutuan") ทั้งสองรูปนี้เป็นสีเหลือง หมายถึงยังดี เปอร์ตวน อากง กษัตริย์ผู้เป็นองค์อธิปัตย์ของสหพันธรัฐ นอกจากนี้รูปจันทร์เสี้ยวยังหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ส่วนดาราสหพันธ์หมายถึงรัฐทั้ง 13 รัฐของสหพันธ์และดินแดนของรัฐบาลสหพันธรัฐ
 เดิมรูปดาว 14 แฉกนั้นใช้เป็นสัญลักษณ์แทนรัฐที่รวมเป็นประเทศมาเลเซียเมื่อแรกก่อตั้ง 14 รัฐ ซึ่งมีสิงคโปร์รวมอยู่ด้วย ต่อมาเมื่อสิงคโปร์แยกตัวจากสหพันธรัฐ รูปดาว 14 แฉกนี้ก็มิได้มีการแก้ไข แต่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าดาวดังกล่าวได้รวมความหมายถึงดินแดนของสหพันธรัฐที่มีอยู่แทน
 รูปโล่ในตราอาร์มนี้เป็นสัญลักษณ์แทนการรวมเป็นเอกภาพของรัฐต่างๆ ภายใต้สหพันธรัฐของชาวมาเลย์ ภายในโล่แบ่งพื้นที่อย่างคร่าวๆ ออกเป็น 3 ส่วน ตามแนวนอน หากแบ่งโดยละเอียดจะนับได้สิบส่วน ดังนี้ ส่วนบนสุดหรือส่วนหัวของโล่ บรรจุภาพกริช 5 เล่มบนพื้นสีแดง หมายถึงอดีตรัฐมลายูที่อยู่นอกสหพันธรัฐมาลายา 5 รัฐ ได้แก่ รัฐยะโฮร์ รัฐตรังกานู รัฐกลันตัน รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และรัฐปะลิส ส่วนกลางโล่ประกอบด้วย ทางซ้ายสุด เป็นรูปต้นปาล์มปีนังอยู่เหนือสะพานปีนัง หมายถึงรัฐปีนัง ถัดมาตรงกลางเป็นแถวช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 แถว ประกอบด้วยสีของธงชาติสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ สีแดง สีดำ สีขาว และสีเหลือง เรียงจากซ้ายไปขวา สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้ประกอบในธงประจำรัฐสมาชิกในสหพันธรัฐมาลายา ได้แก่ รัฐเนกรีเซมบิลัน (แดง-ดำ-เหลือง). รัฐปาหัง (ดำ-ขาว), รัฐเประ (ขาว-เหลือง) และรัฐสลังงอร์ (แดง-เหลือง) ทางขวาสุด เป็นรูปต้นมะขามป้อม (Indian gooseberry) อันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐมะละกา ส่วนล่างหรือท้องโล่ แบ่งออกเป็นสามช่อง เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ทางซ้ายสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาบาห์ (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2506) ตรงกลาง เป็นรูปดอกชบา ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติ ทางขวาสุด เป็นรูปตราอาร์มประจำรัฐซาราวัก
 รูปเสือโคร่งท่ายืนผงาดที่ประคองสองข้างของตราเป็นสัญลักษณ์ตามธรรมเนียมเดิมของชาวมลายู หมายถึงกำลังและความกล้า รูปดังกล่าวนี้มีที่มาจากตราเดิมของรัฐแห่งสหพันธ์มาลายา (Federated Malay States) และสหพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya)

ศาสนาของชาวประเทศมาเลเซีย

ศาสนา


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศาสนาประเทศมาเลเซีย



ชาวมาเลเซียสามารถนับถือและประกอบพิธีทางศาสนาได้อย่างอิสระ ด้วยเหตุนี้ มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางจิตวิญญาณ ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หากคุณไปเยือนมาเลเซีย บ่อยครั้งคุณจะเห็นสุเหร่า โบสถ์คริสต์ วัดพุทธ และวัดฮินดู ตั้งเรียงรายกันอยู่บนถนนเส้นเดียวกัน ในขณะที่สมาชิกในครอบครัวใหญ่ของมาเลเซียอาจนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นอิสลามหรือคริสต์

     เนื่องจากชาวมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ดังนั้น วัฒนธรรมมาเลย์ดั้งเดิมจึงได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามอย่างแยกไม่ออก เมื่อคุณเดินไปตามถนนที่พลุกพล่านในเมืองกัวลาลัมเปอร์ คุณอาจได้ยินเสียงประกาศให้ชาวมุสลิมทำการละหมาดจากเครื่องขยายเสียงของสุเหร่าที่อยู่ใกล้ ๆ บ่ายวันศุกร์ คุณจะเห็นกลุ่มชายมุสลิมกลุ่มใหญ่นุ่งโสร่งและสวมหมวกซอเกาะห์ (หมวกไม่มีปีกของชาวมุสลิม) เดินมุ่งหน้าไปทำการละหมาดที่สุเหร่า
     ศาสนาอิสลามแผ่ขยายเข้ามาในคาบสมุทรมลายูครั้งแรกผ่านพ่อค้าชาวอาหรับและอินเดียที่เดินทางมาค้าขายในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง รวมถึงปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรม อาหาร และวิถีชีวิตของชาวมาเลเซีย กฎหมายศาสนาอิสลามนิกายซุนนีในประเทศมาเลเซียนั้นเป็นกฎหมายก้าวหน้าและยอมรับว่า ชาวมาเลเซียสามารถนับถือศาสนาตามความเชื่อของตนได้อย่างเสรีและสันติ
     เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 19ทำให้ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋าฝังรากลึกในมาเลเซีย ชาวมาเลเซียเชื้้อสายจีนยังคงสืบทอดเทศกาลที่สำคัญ ๆ เช่น วันตรุษจีน วันสารทจีน และเทศกาลต่งจี่ เป็นต้น ชาวจีนหลายคนนับถือศาสนาพุทธ ในชุมชนชาวจีนจะมีวัดพุทธตั้งกระจายอยู่ทั่วไป
     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในคาบสมุทรมลายู แสดงให้เห็นว่าศาสนาฮินดูเข้ามาในมาเลเซียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันฮินดูกลายเป็นศาสนาย่อยของประเทศ ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูส่วนใหญ่มักสืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย
     ศูนย์กลางด้านศาสนาที่คุณสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมได้ คือ บริคฟิลด์ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยคุณจะเห็นวัดพุทธ วัดฮินดู โบสถ์เก่า สุเหร่า และอาศรมตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน
 

เชื้อชาติประเทศมาเลเซีย

เชื้อชาติ






        ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17) [1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลีประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชราต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวาและมีนังกาเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์
ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 
และชุมชนลูกครึ่งอื่น ๆ อย่าง ฮอลันดาและอังกฤษ ส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากันหรือชาวจีนช่องแคบ(จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง
ศาสนาดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศมาเลเซีย และ พุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมะละกา ประชากรร้อยละ 61.3 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19.8 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 9.2 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 6.3 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และความเชื่อดั้งเดิมอื่น ๆ ของจีน[2] แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนเรื่องค่าครองชีพตามนโยบายภูมิบุตรของรัฐบาล




ภาษาราชการประเทศมาเลเซีย

ภาษาราชการ




              
          ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (มาเลย์: Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์-เลสเตในการใช้ภาษาเกมทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซียแต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน

ระบบการปกครองประเทศมาเลเซีย

การปกครอง





    ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ 2500 เมื่อครั้งก่อตั้งประเทศใช้ชื่อประเทศว่า “สหพันธรัฐมลายู” ต่อมาในปี พ.ศ.2508 สิงคโปร์จึงได้แยกตัวออกไปเป็นประเทศสิงคโปร์
     ประเทศมาเลเซียมีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ  มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมีมุขมนตรีแห่งรัฐหรือสุลต่านเป็นหัวหน้ารัฐบาลท้องถิ่น
     ประมุขของประเทศมาเลเซียองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลฮาอัดซามซาห์ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 14 ของมาเลเซีย
     ตำแหน่งประมุขของประเทศมาเลเซียคือพระราชาธิบดี เรียกว่า “ยังดี เปอร์ตวนอากง ”มีความหมายว่าผู้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้า มาจากการเลือกตั้งผู้ปกครองรัฐ (สุลต่าน) แห่ง (ยะโฮร์  ตรังกานูปาหัง  สลังงอร์  เกดะส์  กลันตัน  เนกรีเซมบีลัน  เประ  และปะลิส)  ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นดำรงตำแหน่งโดยมีวาระ 5ปี ชายาของสุลต่านที่รับตำแหน่งนี้เรียกว่า “รายา  ประไหมสุหรี่  อากง”
     รัฐที่ไม่สุลต่านปกครอง  ได้แก่ ปินัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก

จำนวนประชากรประเทศมาเลเซีย

ประชากร


             ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11  ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)  นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี
           ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร   ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์   ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง

พื้นที่ประเทศมาเลเซีย

พื้นที่



มาเลเซีย   เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันออก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน วันชาติคือวันที่ 31 สิงหาคม 

เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง



กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ก่อตั้งประมาณ ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) มีเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศ เมื่อมองทางด้านเชื้อชาติของผู้อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่า เป็นชาวมาเลย์และชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ชาวอินเดียมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  

แผนที่ - ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

แผนที่ 


มาเลเซีย เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันออก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน วันชาติคือวันที่ 31 สิงหาคม



  1. ปีนัง (Penang)มีพื้นที่ประมาณ 1.1 พันตร.กม. ประชากร 1.2 ล้านคน เป็นดินแดนที่รู้จักกันในชื่อว่า “ไข่มุกตะวันออก” เนื่องจากมีหาดทรายสวยงาม รีสอร์ทระดับมาตรฐานมากมาย ปีนังเป็นนครที่รวมเอาความพิเศษของซีกโลกตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เห็นได้จากอาคารตึกรามบ้านช่องที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างสมัยอาณานิคมปะปนกับอาคารสมัยใหม่ มี George Town เป็นเมืองหลวงของรัฐ  อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  เซมิคอนดักเตอร์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. กลันตัน (Kelantan) พื้นที่ประมาณ 14.9 พันตร.กม. อยู่ทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนติดกับไทยด้านทิศเหนือ มีประชากร 1.4 ล้านคน ลักษณะทั่วไปของรัฐนี้เป็นหมู่บ้านชาวประมงที่เงียบสงบ มีชายหาดสวยงาม ไร่นาเขียวชอุ่ม และยามว่างผู้คนมักนิยมเล่นว่าวและลูกข่าง จนกลายเป็นประเพณีนิยม ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะได้พบการแสดงการเล่น ว่าวยักษ์และลูกข่างยักษ์  เสียงกลอง “Rebana Ubi” รวมถึงการแสดงหนังตะลุง “Wayang Kulit”  ได้ทุกแห่ง  กลันตันจึงได้รับการขนานนามว่า “แหล่งวัฒนธรรมมาเลย์” มี Kota Bharu เป็นเมืองหลวงของรัฐ   อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งทอ  เคมีภัณฑ์ และไม้สัก เป็นต้น
  3. เปรัค (Perak) มีพื้นที่ประมาณ 21 พันตร.กม. ประชากร 2 ล้านคน   Ipoh คือ เมืองหลวงของรัฐและมี Taiping เป็นเมืองใหญ่ อุตสาหกรรมสำคัญคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร ยาง และผลิตภัณฑ์จากไม้ เป็นต้น