วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

การนับเลขประเทศมาเลเซีย


การนับเลข


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การนับเลขประเทศมาเลเซีย





                       หนึ่ง      ซาตู (satu)
สองดัว (dua)
สามทิก้า (tiga)
สี่เอ็มแพท (empat)
ห้าลิม่า (lima)
หกอีนาม (enam)
เจ็ดทูจู (tujuh)
แปดลาพัน (lapan)
เก้าเซ็มบิลัน (sembilan)
สิบเซปูลู (sepuluh)             





คำบอกรัก ประเทศมาเลเซีย

คำบอกรัก 







มาเลเซีย เรียกว่า ซายาจินตามู (Saya cinta mu)

คำทักทาย ประเทศมาเลเซีย

คำทักทาย 






สวัสดีซาลามัด ดาตัง
ขอบคุณเตริมา กะชิ
สบายดีไหมอาปา กาบา
ยินดีที่ได้รู้จักเจมบิรา ดาปัด เบอเตมู อันดา
 (gembira dapat bertemu anda)
พบกันใหม่เบอจัมปา ลากิ (berjumpa lagi)
ลาก่อนเซลามัต ติงกัล
นอนหลับฝันดีมิมปิ๊ มานิส
 (mimpi manis)
เชิญเม็นเจ็มพุด (menjemput)
ใช่ยา (ya)
ไม่ใช่ทีแด๊ก (tidak)
อากาศดีจังบาอิค คอค่า (baik cauca)
อากาศร้อนมากซังกัด พานัส
อากาศหนาวมากคอค่า ยัง ซังกัด เซจุ๊ค
 (cauca yang sangat sejuk)
ไม่เป็นไรทีแด๊ก อปาอาปา (tidak apa-apa)
  
 * มาเลเซีย และ บรูไน ใช้ภาษาเดียวกัน

เทศกาล งานประเพณี ประเทศมาเลเซีย

เทศกาล งานประเพณี





เทศกาลตรุษจีน

ตรุษจีนในมาเลเซียก็เช่นเดียวกับตรุษจีนประเทศต่างๆเป็นเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน มีการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนประดับประดาสิ่งสวยงาม มีการเชิดสิงโต ตามศาลเจ้าของจีนจะมีผู้คนไปกราบไหว้ขอพรจากเทพเจ้าอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะในกรุงกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ จะคึกตักเป็นพิเศษเพราะมีชาวจีนประกอบธุรกิจการค้าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

มาเลเซียเป็นเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีชาวฮินดูอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก ชาวฮินดูมีประเพณีสำคัญคือ ไทปูซัม เป็นวันที่ชาวฮินดูพากันมาประกอบพิธีกรรมสำนึกบาปที่ตนเองได้ทำไว้ไปในช่วงเวลาที่ผ่าน มีการลงโทษทำร้ายตนเอง โดยใช้ของแหลม ของมีคมทิ่มแทงตนเอง ประเพณีจะจัดขึ้นที่ถ้ำบาตูในกรุงกัวลาลัมเปอร์และปีนัง

เทศกาลว่าวนานาชาติ

เป็นการแข่งขันว่าวนานาชาติ ซึ่งว่าวแต่ละตัวมีสีสันและรูปแบบสวยงามแปลกตา มีหลากหลายตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่มหึมา สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้พบเห็น งานนี้จัดขึ้นที่หาดตุมปัดในเมืองกลันตัน

เทศกาลซาบาห์

เป็นการรวมตัวของคนกว่า 30 ชนเผ่า มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีเพื่อให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษงานนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในซาบาห์

เทศกาลกาไว

เป็นการเฉลิมฉลองหลังการเกี่ยวข้าวของชาวนา เป็นงานรื่นเริง เลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มอย่างสนุกสนาน

วันชาติ

ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่มาเลเซียได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ชาวมาเลเซียจึงมีการเฉลิมฉลองอย่างครึกครื้น มีการตั้งริ้วขบวนแห่ไปตามถนนสายสำคัญในกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของมาเลเซีย

เทศกาลขนมไหว้พระจันทร์และเทศกาลโคม

เป็นงานเทศกาลเฉลิมฉลองในชัยชนะของชาวจีนโบราณที่มีต่ออาณาจักรมองโกล (คริสต์ศตวรรษที่ 14 ) ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ตั้งอยู่กลางทะเลทราบโกบี หรือประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน มีการขยายอำนาจกว้างไกลที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยเฉพาะในช่วง ค.ศ.1206 ภายใต้การนำของเจงกิจข่าน แผ่อำนาจครอบคลุมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงยุโรปตะวันออก

ชาวจีนในมาเลเซียมีการทำขนมไหว้พระจันทร์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในงานนี้ยังมีกระบวนการแห่โคมอย่างสวยงามอีกด้วย

ประเพณีดีปาวาลี

เป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู และบูชานางลักษมีเทวี ซึ่งเป็นพระชายาของพระนารายณ์ และเป็นเทพธิดาแห่งความร่ำรวยและความมั่งคั่ง ในช่วงวันเวลาดังกล่าวตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวงราวกลางเดือนตุลาคม ชาวฮินดูจึงมีการบูชาดวงจันทร์ เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของพระนางลักษมีเทวี

ประวัติตำนานของประเพณีนี้กล่าวว่า วันที่พระรามซึ่งเป็นร่างอวตารของพระรามไปรบกับอสูรแล้วยกทัพกลับเข้าเมืองอโยธยา ตรงกับวันดีปาวาลีการจุดเทียนสว่างไสวจึงเป็นการฉลองชัยชนของศึกครั้งนั้นด้วย ประเพณีปาวาลีจึงเป็นการเฉลิมฉลองที่ธรรมะ (หมายถึงพระราม) ชนะอธรรม (หมายถึงอสูร) บางบ้านมีการจุดเทียนและประทีปจากหน้าบ้านนำไปยังหิ้งบูชาพระนางลักษมีเทวีในบ้านเรือนด้วย ค่ำคืนนั้นแสงเทียนแสงประทีปจะวับวามสวยงาม นอกจากนี้บางบ้านยังทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน รวมถึงตู้เซฟที่เก็บทรัพย์สินเงินทอง

 เทศกาลฮารีรายา

วันฮารีรายาถือเป็นวันสำคัญในรอบปีของผู้นับถือศาสนาอิสลาม วันสำคัญนี้กำหนดขึ้นจากการเฝ้าสังเกตดูดวงจันทร์บนท้องฟ้าของชาวมุสลิมในวันหยุดท้ายของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนทางรัฐบาลจะประกาศให้ชาวมุสลิมรับรู้อย่างเป็นทางการ และมาเลเซียให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน

ในวันฮารีรายา ชาวมุสลิมจะพากันไปละหมาดที่มัสยิด หลังจากนั้นจะเดินทางไปยังกุโบร์ เพื่อสวดมนต์ขอพรให้กับญาติพี่น้องบรรพบุรุษผู้วายชนม์ หลังจากนั้นก็จะออกซากาดหรือทำทานแก่ผู้ยากไร้ โดยเฉพาะเด็กกำพร้า หลังจากนั้นก็จะออกเดินทางท่องเที่ยวไปเยี่ยมบ้านญาติมิตรที่เคารพนับถือ

แหล่งท่องเที่ยว ประเทศมาเลเซีย

แหล่งท่องเที่ยว


กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


ไม่ต่ำกว่า 200 ปีก่อน กัวลาลัมเปอร์เคยเป็นแค่เมืองขุดเหมืองของมาเลเซียเท่านั้น มันเป็นเมืองที่เงียบเหงา ผิดกับปัจจุบันที่มีผู้คนพลุกพล่านเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทันสมัย ที่คนรักการสังสรรค์ต้องมาให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการช้อป ทานของอร่อย หรือชมวิวสูงบนตึกระฟ้า เชื่อเถอะว่าที่นี่ตอบโจทย์ของคุณได้หมดแน่นอน


ปีนัง (Penang)

 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย

 เกาะปีนังบริเวณช่องแคบมะละกา ทางตอนใต้ของชายฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือประเทศมาเลเซีย คือ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเมืองจอร์จทาวน์บนเกาะแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งก็ว่าได้ แถมจากการที่มันเป็นแหล่งขนส่งติดต่อกับชาวต่างชาติ ยังทำให้ปีนังเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกต่างหาก


กูชิง (Kuching)

 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบอร์เนียว เป็นที่พักที่ดีที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะอยู่ระยะยาว และเที่ยวชมมาเลเซียให้ทั่วสักหน่อย คุณสามารถแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ เช่น วัดโทวเปกกง วัดจีนที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด หรือ เดวาน อันดันกัน เนเกรี อาคารราชการที่มีรูปทรงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์


คาเมรอน ไฮแลนด์ (Cameron Highlands)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


หลบหนีจากความร้อนแล้วมาสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เย็นชื่นใจ ที่ คาเมรอน ไฮแลนด์ บนภูเขาติติวังซา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ของที่นี่ และมีบรรยากาศสวยตรึงตาตรึงใจสมกับที่ผู้คนชื่นชอบกันจริง ๆ โดยมีทั้งสวนดอกไม้, ไร่ชา และสวนผักผลไม้ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ตามใจชอบ นอกจากนี้ การแวะชมพิพิธภัณฑ์ ไทม์ ทันเนล เพื่อดูประวัติความเป็นมาของที่นี่ก็น่าจะช่วยให้ทริปของคุณพิเศษยิ่งขึ้น


มะละกา (Melaka)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย

ด้วยความที่มันมีบทบาทสำคัญในการเดินเรือระหว่างอินเดียและจีน ทำให้มันได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย จนมีสิ่งก่อสร้างจากศิลปะที่แตกต่างปะปนอยู่ด้วยกัน กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่งดงาม ทั้งวัดจีนเก่าแก่ เช็งฮุนเต็ง และสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของชาวดัตช์


โกตาบารู (Kota Bharu)


 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าไปในมาเลเซีย


 นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาที่นี่ไม่ขาดสายทุกปี ซึ่งโกตาบารูอยู่ใกล้เขตชายแดนบ้านเรานี่เอง และสถานที่พลาดไม่ได้ของที่นี่ ก็คือ พิพิธภัณฑ์ Museum of Royal Traditions and Ceremonies ที่แค่ไปเห็นปราสาทไม้รวมทั้งสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของราชวงศ์ก็คุ้มค่าแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นตลาดกลางขนาดใหญ่ของที่นี่ยังขึ้นชื่อ น่าซื้อของกินให้จุใจอีกด้วยนะ











ชุดแต่งกายประเทศมาเลเซีย

ชุดแต่งกาย

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของชาติมาเลเซีย  ซึ่งเคร่งครัดในระเบียบปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา  โดยเฉพาะการแต่งกายที่สุภาพมิดทั้งหญิงและชาย
ในอดีต  ผู้ชายชาวมาเลเซียมักนุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อ  หรือถ้าจะสวมใส่ก็เป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงขาสั้นแทนโสร่งแทน  ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอก  บางคนอาจมีผ้าบางๆไว้คลุมไหล่ องค์สุลต่านอาบูบาการ์แห่งรัฐยะโฮร์  ทรงเห็นว่าการแต่งกายของชาวมาเลเซียไม่เรียบร้อย  อีกทั้งไม่มีชุดประจำชาติที่ดูสุภาพพระองค์จึงทรงคิดให้ชุด  บาจู  กูหรง  (Baji  Kurung)ซึ่งเป็นภาษามลายู  แปลว่า  ปกปิดมิดชิด
ลักษณะเด่นของชุดบาจู  กูหรงไม่ว่าของผู้ชายหรือผู้หญิง  มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดียวกัน  เพราะฉะนั้นทั้งสีและลวดลายบนผืนผ้า จึงเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด  แต่ชุดของผู้ชายกลับมีเครื่องเครามากกว่าของผู้หญิงชุดผู้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด   ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผู้ชายเป็นแขนยาว  ทั้งแบบคอลมและคอจีน  ซึ่งมีรังดุมราว  2-5  เม็ด  ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก
ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้  ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน  หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น  จากสะดือถึงเข่า  ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า  ซัมปิน  (Sampin)  ซึ่งสีไมฉูดฉาด  แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม  ดิ้นทอง  ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย  ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย
ที่ศีรษะผู้ชายจะสวมหมวกแขกกำหยี่สีดำ  ภาษามลายูเรียกว่า  ซองโก๊ะ  (Songkok)  แต่ถ้าจะให้เต็มยศบางคนก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง
การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น  รูปนกอินทรีปีกหัก  รูปช้างรบ  รูปสู้ลม  ถือเป็นศิลปะที่ต้องใช้เวลาประดิดประดอย  จึงไม่เป็นที่นิยม  ในอดีตการสวมผ้าพับรูปมงกุฎนี้เป็นเครื่องบอกชนชั้นในสังคมมาเลเซีย  ส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงขององค์สุลต่านและราชวงศ์  ส่วนสามัญชนจะสวมใส่ผ้าพันมงกุฎนี้ในวันสำคัญเช่นในวันแต่งงาน  ซึ่งหมายถึงเจ้าบ่าวเป็นเจ้าชายในวันนั้น





สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวมาเลเซียคือ  กริช  ซึ่งเคยเป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา  แต่ปัจจุบันกริช  ใช้เป็นเครื่องประดับในชุดบาจู  กูหรง  โดยเหน็บข้างเอวให้เห็นเท่านั้น  การแต่งกายแบบนี้สำหรับชาวมาเลเซียถือว่าสุภาพมาก  มักแต่งไปในงานพิธีเช่นงานแต่งงาน
ที่กล่าวมานี้ค่อนข้างเป็นการแต่งกายที่เป็นทางการ  แต่ถ้าต้องการความสะดวกเรียบง่าย  เพื่อไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด     ก็เพียงโสร่ง  สวมเสื้อปล่อยชายยาวคลุมทับโสร่ง  สวมหมวกกำมะหยี่สีดำ

บางครั้งผู้ชายก็แต่งตัวอย่างสากล  ใส่เสื้อแขนยาวสีขาวหรือสีอ่อน  ดูสุภาพ    กับกางเกงสีเข้ม  และที่ขาดไม่ได้คือใส่หมวกกะปิเยาะห์
ชุดผู้หญิง  มีเครื่องแต่งกายน้อยชิ้นกว่าชาย  ทั้งเสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา  เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว  ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด    หรือสีที่เข้ากันดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง    นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผู้หญิงเป็นแบบแขนยาว  ชายเสื้อยาวลงมาถึงเข่า  บางคนนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป  แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ  ไม่เน้นรูปร่าง  ส่วนท่อนล่างเป็นกระโปรงยาวคลุมตาตุ่ม  ไม่ผ่าข้าง เมื่ออกนอกบ้าน  ผู้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศีรษะด้วยผ้าบางเบา  มีสีสันลวดลายดูกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง  ผ้านี้บางทีก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย  สตรีมุสลิมที่เคร่งครัดก็มักคลุมฮิญาบ   หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า  ตุดง (Tudung)  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น


















เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำ ประเทศมาเลเซีย

เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำ




               ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ตน ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้แรงงานภาคเอกชนเป็นครั้งแรก โดยแรงงานในคาบสมุทรมาเลเซียจะได้ 900 ริงกิตต่อเดือน หรือ 4.33 ริงกิตต่อชั่วโมง ส่วนแรงงานในรัฐซาราวัก รัฐซาบาฮ์ และลาบวน จะได้ 800 ริงกิต ต่อเดือน หรือ 3.85 ริงกิตต่อชั่วโมง โดยจะมีผลบังคับใช้ใน 6 เดือน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยกเว้นบริษัทที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ บริษัทที่มียอดขายประจำปีจำนวน 250,000 ริงกิต (สำหรับภาคอุตสาหกรรม) และจำนวน 200,000 ริงกิต (สำหรับภาคการเกษตรและบริการ) และมีจำนวนลูกจ้างประจำ 5 คน รัฐบาลฯ เลื่อนผลบังคับใช้เพิ่มเป็น 12 เดือน ซึ่งนับเป็นการเตรียมการเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2020 (พ.ศ. 2563)
                    นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่า รัฐบาลออกมาตรการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชนชั้นแรงงาน และช่วยให้มั่นใจว่าชนชั้นแรงงานจะสามารถปรับตัวเพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินกันว่า การประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นครั้งแรกของประเทศมาเลเซียในครั้งนี้ มีเหตุผลในทางการเมืองแอบแฝง เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียกำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในมาเลเซียในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลมาเลเซียก็ได้อนุมัติให้ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการประจำมาแล้ว ซึ่งมาตรการทั้งหมดได้รับการประเมินว่าเป็นการสร้างความพึงพอใจซึ่งจะมีผลต่อคะแนนนิยมของพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง 
                    นอกจากนี้ ยังได้มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของมาเลเซีย ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการประกาศดังกล่าวหลากหลายมุมมอง อาทิ เช่น เลขาธิการหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศมาเลเซียมีความเห็นว่าการกำหนดอัตราค่าแรง 900 ริงกิต ครอบคลุมทุกรัฐในคาบสมุทรมาเลเซีย จะทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติกลัวที่จะเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการที่อยู่ในเขตชนบท พร้อมทั้งเสนอว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำควรพิจารณาเป็นรายพื้นที่ ในขณะที่ประธานสหภาพแรงงานมาเลเซียแสดงความยินดีที่รัฐบาลมีมติใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำ หลังจากที่ได้เรียกร้องกันมานานกว่า 10 ปี พร้อมกันนี้ สหภาพฯ ประกาศว่าจะพยายามผลักดันให้มีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงครองชีพอีกจำนวน 300 ริงกิต เพิ่มเติมให้แรงงานภาคเอกชนด้วย เพราะเชื่อว่าเมื่อมีการปรับค่าจ้าง ย่อมส่งผลต่อการปรับอัตราค่าครองชีพให้สูงขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน ทางด้านผู้อำนวยการบริหารสหพันธ์นายจ้างมาเลเซีย แสดงความเห็นว่า รัฐบาลประกาศกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำเร็วเกินไป ควรให้นายจ้างมีการปรับตัวมากกว่านี้ และให้คำแนะนำว่า การปรับขึ้นอัตราค่าแรง ควรดำเนินควบคู่กับการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย
                    อย่างไรก็ตาม นักวิจัยของ CIMB ให้ความเห็นว่า แม้การกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการ แต่ก็จะส่งผลดีในระยะยาวต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ลดการพึ่งพาแรงงานไร้ฝีมือ และจะมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น
                    อนึ่ง การกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้กับตำแหน่งงานทุกตำแหน่งในภาคเอกชน รวมทั้งแรงงานต่างชาติ ยกเว้นตำแหน่งแม่บ้าน